ณ ห้องประชุมบอลรูม ชั้น 6โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี โครงการเสริมศักยภาพภาคประชาสังคมเป็นหุ้นส่ววนการสร้างสังคมสุขภาวะอย่างยั่งยืน โดย มูลนิธิพัฒนาประชาสังคม
การประชุมเชิงปฏิบัติการ “ก่อตั้งสมัชชาองค์กรประชาสังคมไทย” หนึ่งในกิจกรรมของโครงการเพื่อดำเนินงาน โครงการเสริมศักยภาพภาคประชาสังคมเป็นหุ้นส่วนการสร้างสังคมสุขภาวะอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ทางสถาบันฯ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ก่อตั้งสมัชชาองค์กรประชาสังคมไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เป้าหมายเพื่อให้สามารถเป็นกลไกตัวแทนในระดับชาติและระดับพื้นที่ขององค์กรภาคประชาสังคมในการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาสังคมในระดับจังหวัดและประเทศอย่างยั่งยืน สำหรับเวทีครั้งนี้จัดขึ้น วันที่ 13-14 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมบอลรูม ชั้น 6 โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ผู้เข้าร่วมการประชุมรวมทั้งสิ้น 152 คน ประกอบด้วยแกนนำ ศปจ.
กล่าวต้อนรับ และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุม โดย ดร.วณี ปิ่นประทีป วัตถุประสงค์ในการประชุมรวมถึงกำหนกการจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน ในช่วงที่ 1 เรื่องการประชุมสมัชชาองค์กรภาคประชาสังคม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน 1) (ร่าง) ธรรมนูญสภาประชาสังคมไทยและ 2) คำประกาศเจตนารมณ์ การก่อตั้งสภาประชาสังคมไทย ช่วงที่ 2 กองทุนประชาสังคมระดับจังหวัด โดยให้ ศปจ.รายงานสถานกาณ์ภาพรวมกองทุนพัฒนาสังคมระดับจังหวัดทั่วประเทศ และช่วงที่ 3) TD Forum สถานการณ์บ้านเมือง สภาประชาสังคมไทยและการรวบรวมรายชื่อเสนอกฎหมาย (ร่าง) พ.ร.บ. การเสริมสร้างวัฒนธรรมการเมืงในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(ร่าง) ธรรมนูญสภาประชาสังคมไทย โดย ดร.วณี ปิ่นประทีป ในกระแสการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป้าหมาย SDG 17 ของสหประชาชาติ คาดหวังว่าภาคประชาสังคมและกระบวนการมีส่วนร่วม จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกๆเรื่อง รวมถึงองค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทยมีความแตกต่างหลากหลายกันเป็นอย่างมาก ทั้งยังขาดการจัดตั้งองค์กรหรือกลไกกลางที่จะสนับสนุนและบริหารจัดการให้เกิดความเป็นเอกภาพ
ในช่วงปลายปี 2562 ข่ายเครืองานชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคม 76จังหวัดและ 6 พื้นที่โซนของกรุงเทพมหานคร ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของวุฒิสภา และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้พัฒนากรอบแนวคิดการจัดตั้งและจัดทำยกร่างธรรมนูญสภาประชาสังคมไทยขึ้น นำเสนอต่อเวทีกระประชุมสมัชชาองค์กรภาคประชาสังคม เพื่อพิจารณารับรองและให้ใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดตั้งและดำเนินงาน โดยเชิญชวนผู้แทนองค์กรร่วมลงนามในท้ายคำประกาศเจตนารมณ์การก่อตั้งสภาประชาสังคมไทย และให้ ศปจ.ทุกท่านได้พิจารณาปรับแก้ (ร่าง) ธรรมนูญรวมกันเพื่อให้เกิดความทุกต้องและเห็นพ้องรวมกันในที่ประชุม
โดยมีการพิจารณาปรับแก้ทั้งหมด 5 หมวดด้วยกัน เช่น หมวด 1 ทั่วไป ทาง ศปจ. ภูเก็ต (กับกำดูแล หมายถึงเราไม่ได้เป็นหัวหน้าแต่เรากำกับดูแลกันเอง (ดูแลซึ่งกันและกัน) ) เชียงใหม่ (องค์กรที่เข้ามาร่วมกันเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพิ่มเข้ามา และเป็นองค์กรภาคประชาสังคม นครปฐม (กลุ่มคน คณะบุคคล ชมรมที่มารวมตัวกัน และไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องของการแสวงหาผลกำไร ในเอกสารไม่มีการพูดถึงหน่วยงานภาครัฐ หรือจะให้มีต้องเพิ่มคำว่าภาครัฐหรือถ้าไม่มีต้องเขียนเป็นต้องไม่ใช่ภาครัฐ) (เอกสารปรับแก้ ร่างธรรมนูญ แนบท้ายสรุปการประชุม) และที่ประชุมได้มีการตั้งคณะกรรมการชุดเล็ก จำนวน 5 ท่าน ในการพิจารณาปรับแก้ช่วยกันพิจารณาเพิ่มเติม (ร่าง) ธรรมนูญเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ได้แก่ 1) คุณชำนาญ วัฒนศิริ 2) อ.รัตนา สมบูรณ์วิทย์ 3) คุณจุฑาพร พันธุ์วัฒนา 4) คุณเกรียงไกร และ 5) คุณสิทธิธรรม เลขวิวัฒน์
เมื่อมีการปรับแก้ (ร่าง) ธรรมนูญเพิ่มเติมเป็นที่เรียบร้อยแล้วในที่ประชุมมีมติเห็นชอบธรรมนูญสภาประชาสังคมไทยร่วมกันและทางที่ประชุมได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการทำงานเฉพาะกิจ จำนวน 11 ท่าน ได้แก่
คุณชำนาญ วัฒนศิริ จังหวัดกำแพงเพชร
คุณรัตนา สมบูรณ์วิทย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
คุณจุฑาพร พันธุ์วัฒนา จังหวัดลพบุรี
คุณเกรียงไกร บุญประจง จังหวัดยโสธร
คุณเจริญลักษณ์ เพ็ชรประดับ จังหวัดขอนแก่น
คุณสุเนตร ทองคำพงษ์ จังหวัดพิษณุโลก
คุณสุพจน์ สงวนกิตติพันธุ์ จังหวัดภูเก็ต
คุณแก้ว สังข์ชู จังหวัดพัทลุง
คุณสุทธิพงษ์ ลายทิพย์ จังหวัดตรัง
คุณศิริพร ปัญญาเสน จังหวัดลำปาง
คุณสุทธิธรรม เลขวิวัฒน์ จังหวัดระยอง
เพื่อเตรียมคำประกาสเจตนารมณ์การก่อตั้งร่วมถึงการร่วมลงนามท้ายคำประกาศ เพื่อดำเนินการก่อตั้งสภาประชาสังคมไทยตามหลักการและแนวทางของธรรมนูญฉบับนี้